1. เเฟ้มข้อมูล คือ
แฟ้ม หรือ ไฟล์ ในทางคอมพิวเตอร์หมายถึงกลุ่มระเบียนสารสนเทศใด ๆ หรือทรัพยากรสำหรับเก็บบันทึกสารสนเทศ ซึ่งสามารถใช้งานได้กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโดยปกติจะอยู่บนหน่วยเก็บบันทึกถาวรบางชนิด ซึ่งแฟ้มนั้นคงทนถาวรในแง่ว่า ยังคงใช้งานได้สำหรับโปรแกรมอื่นหลังจากโปรแกรมปัจจุบันใช้งานเสร็จสิ้น แฟ้มคอมพิวเตอร์ถือได้ว่าเป็นของทันสมัยคู่กับเอกสารกระดาษ ซึ่งแต่เดิมจะถูกเก็บไว้ในตู้แฟ้มเอกสารของสำนักงานและห้องสมุด จึงเป็นที่มาของคำนี้
แฟ้มอาจเรียกได้หลายชื่อเช่น แฟ้มข้อมูล, แฟ้มอิเล็กทรอนิกส์, แฟ้มคอมพิวเตอร์, แฟ้มดิจิทัล, ไฟล์ข้อมูล, ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์, ไฟล์คอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์ไฟล์, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ
ประเภทของแฟ้มข้อมูล
แฟ้มข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ คือ
1.แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) หมายถึง
แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญของระบบงาน และเก็บข้อมูลไว้อย่างถาวร ข้อมูลในแฟ้มประเภทนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ในระบบงานหนึ่ง ๆ สามารถมีแฟ้มข้อมูลหลักได้หลายแฟ้ม ตัวอย่างเช่น ระบบการขาย มีแฟ้มข้อมูลหลัก คือ แฟ้มลูกค้า แฟ้มสินค้า2.แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง (Transaction File) หมายถึง
แฟ้มข้อมูลที่จัดเก็บข้อมูลรายการที่เกิดขึ้นประจำวัน หรือความเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อแฟ้มข้อมูลหลัก เป็นรายการย่อยที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุง (Update) แฟ้มข้อมูลหลัก แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นข้อมูลชั่วคราว เมื่อทำการประมวลผลเสร็จแล้ว จะเก็บไว้หรืไม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น ระบบการขาย มีแฟ้มรายการเปลี่ยนแปลงคือ รายการสินค้าที่เกิดขึ้นประจำวัน รายการส่งสินค้าให้ลูกค้า
2. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้
ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน
3. การประมวลผลข้อมูล คือ
การประมวลผล (Processing) หมายถึง การนำข้อมูลที่เตรียมไว้มาทำการประมวลผลโดยกรรมวิธีหนึ่ง หรือหลายกรรมวิธี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปใช้งานได้
การประมวลผลข้อมูล เป็นกรรมวิธีทำให้ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่กะทัดรัด มีความหมายและสะดวกต่อการนำไปใช้งาน ซึ่งวิธีการประมวลผลข้อมูลมีหลายวิธีแตกต่างกันไป ตั้งแต่อดีตกาลมนุษย์เราใช้การขีดเขียน การนับ และสัญลักษณ์มือ เพื่อแทนข้อมูล แล้วทำการคิดคำนวณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ต่อมาเมื่อเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้ามากขึ้น วิธีการประมวลผลข้อมูลก็ถูกปรับเปลี่ยนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย
ปัจจุบันนี้การประมวลผลข้อมูลที่มีใช้กันอย่างแพร่หลาย คือการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า การประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว และสามารถนำผลลัพธ์มาใช้ทันต่อเหตุการณ์
4. ระบบฐานข้อมูล คือ
ระบบฐานข้อมูล (database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันและถูกนำมาจัดเก็บในที่เดียวกัน โดยข้อมูลอาจเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล แต่ต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูลในการจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูลมีข้อดีกว่าการจัดเก็บข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลพอสรุปประเด็นหลัก ๆ ได้ดังนี้
· มีการใช้ข้อมูลร่วมกัน (data sharing)
· ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล (reduce data redundancy)
· ข้อมูลมีความถูกต้องมากขึ้น (improved data integrity)
· เพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูล (increased security)
· มีความเป็นอิสระของข้อมูล (data independency)
เนื่องจากสังคมของเราในปัจจุบันจัดได้ว่า เป็นสังคมที่อยู่บนพื้นฐานของสารสนเทศผู้ที่มีสารสนเทศมากกว่าจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบ หมายความว่าข้อมูลซึ่งเป็นที่มาของสารสนเทศเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ สารสนเทศที่ดีต้องมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ และมีความทันสมัย ดังนั้นจึงต้องมีวิธีที่ดีเพื่อจัดการกับข้อมูลและสร้างสารสนเทศที่ดีไว้ใช้งาน
ปัจจุบันวิธีสร้างสารสนเทศที่นิยมใช้กันมาก คือการใช้ระบบฐาน ข้อมูลเนื่องจากระบบฐานข้อมูลเป็นระบบที่มีการจัดการที่ดีสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็น ระบบและมีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นการศึกษารายละเอียดของระบบฐานข้อมูลเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติ การออกแบบ และการใช้งานระบบฐานข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็น เพื่อให้ตอบสนองความต้องการในการใช้สารสนเทศขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลต้องมีส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันไม่ว่าจะเป็นบุคลากร ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูลที่นำมาประมวลผล ทุกส่วนมีความสำคัญต่อการ
พัฒนาระบบฐานข้อมูล ดัง -รายละเอียดต่อไปนี้
- บุคลากร (Personal)
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Personal)
- ผู้วิเคราะห์และออกแบบระบบ (DBA : Database Administrator) ทำหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบสร้างฐานข้อมูลควบคุมการใช้งานระบบฐานข้อมูลและ ดูแลความปลอดภัยเรื่องของข้อมูล
- นักพัฒนาโปรแกรม (Application Programmer) ทำหน้าที่พัฒนาโปรแกรมเพื่อเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
- ผู้ใช้ระบบฐานข้อมูล (User) ทำหน้าที่ใช้ระบบฐานข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์ ออกแบบระบบและผู้พัฒนาโปรแกรมได้ทำการพัฒนาขึ้น
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล จะต้องมีการนำข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาจัดเก็บข้อมูล จัดการกับข้อมูลในฐานข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Database Server) ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูลเครื่องลูกข่าย (Client) ใช้ในการเรียกใช้ข้อมูลในฐานข้อมูล และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่าย เป็นต้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อต้องพัฒนาระบบฐานข้อมูลคือ
หน่วยประมวลผลกลางและหน่วยความจำ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ความเร็วในการประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดเก็บฐานข้อมูลสิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ ความจุในการจัดเก็บข้อมูล
ซอฟต์แวร์ (Software)
องค์ประกอบทางด้านซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลนั้น ประกอบด้วย
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการ สร้าง User Interface เป็นส่วนในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลซอฟต์แวร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่ ภาษา Pascal ภาษา C ภาษา Cobol ฯลฯ ปัจจุบันที่นิยมใช้ได้แก่ ภาษา Delphi ภาษา Visual – Basic เวอร์ชั่นต่าง ๆ เป็นต้น
ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS : Database Management System) ในการพัฒนามีระบบฐานข้อมูลนอกจากจะเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์แล้ว ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นก็คือระบบการจัดการฐานข้อมูล ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างบุคลากรกับฐานข้อมูลในการจัดการกับนี้ข้อมูลในฐานข้อมูล ด้วยการใช้ ภาษา SQL ภาษา Quel ภาษา QBE ระบบจัดการ -ฐานข้อมูล (DBMS) จะทำหน้าที่ดังนี้
ข้อมูล (Data)
ข้อมูล หมายถึงข้อมูลที่ได้ทำการจัดเก็บ รวบรวม ด้วยวิธีการจัดเก็บเอกสาร หรือสอบถามข้อมูลจากบุคคลฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ออกแบบสร้างเป็นฐานข้อมูล ซึ่งมีข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
จะต้องเป็นข้อมูลที่สามารถใช้งานร่วมกันได้
จะต้องมีความถูกต้อง สมเหตุสมผล และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
จะต้องไม่มีความซับซ้อน
http://www.kknbc.com
http://th.wikipedia.org
http://www.kknbc.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น